
กิจกรรมที่ 7 การถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จากกล้วย
30/06/2023
กิจกรรมที่ 8 จัดนิทรรศการ ผลผลิตและนวัตกรรมจากผลงานที่สนองต่อพระราชดำริ โครงการ อพ.สธ. มทร.ธัญบุรี
24/08/2023ผศ.กรณัท สุขสวัสดิ์ ผศ.อุไรวรรณ คำสิงหา และอาจารย์วราภรณ์ นาคะศิริ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวถึงการสร้างอัตลักษณ์และมูลค่าเพิ่มจากบัว เพื่อการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ นำองค์ความรู้ถ่ายทอดให้กับชุมชนนับแต่ต้นนํ้า กลางนํ้าและปลายนํ้าให้ความรู้การวางลาย การทำผืนผ้า ต่อเนื่องถึงการแปรูป ออกแบบให้ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างจากที่มี โดยการนำงานปักไหม นำมาเพิ่มมูลค่าให้กับงาน Eco print หรืองานพิมพ์ผ้า
ที่ผ่านมา ได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ไว้หลากหลาย อาทิ ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า หมวก กระเป๋า โคมไฟ ปลอกหมอน ผ้าคลุมไหล่ ตุ๊กตา กรอบรูป การพิมพ์สีธรรมชาติจากบัวนี้ ได้นำการปักผ้ามาเพิ่มความโดดเด่น สร้างลวดลายเอกลักษณ์ เพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับผ้าพิมพ์และผลิตภัณฑ์ การปักทำให้เกิดเทคเจอร์ เกิดมิติที่แตกต่างจากพิมพ์ผ้าทั่วไป ใช้การปักไหมและวิธีการปักหลายรูปแบบ เช่น ปลอกหมอน นอกจากความโดดเด่นการวางลาย ใบบัวจะอยู่บริเวณกึ่งกลางหมอนทุกใบ ขณะเดียวกันใช้การปักเน้นรายละเอียด ลวดลายบัวหลวงที่มีเอกลักษณ์ให้เด่นชัดขึ้น เช่น โคมไฟ กระเป๋าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ การนำสีธรรมชาติจากบัวนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานผ้าพิมพ์ยังเป็นการสร้างนวัตกรรม สร้างผลงานใหม่ๆ โดยใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่น
นอกจากใบบัวที่นำมาใช้พิมพ์ผ้าสร้างลวดลายแล้ว ยังศึกษาพันธุ์ดอกบัวเพื่อนำมาทดลองสกัดสีย้อมผ้า ทั้งบัวหลวง บัวสาย โดยพบว่า ดอกบัวหลวงให้สีชมพูอ่อน จึงนำฝางมาผสม ทำให้สีชมพูมีความเข้มขึ้น ขณะเดียวกัน ยังได้ต่อยอดนำสีจากดอกบัวสายมาทำมัดย้อม สร้างสีสันลวดลาย เพิ่มความหลากหลายให้กับการพิมพ์ผ้า Eco print เป็นลวดลายเอกลักษณ์จากวัสดุธรรมชาติจากใบไม้ดอกไม้ในท้องถิ่น
ที่มา : สถานีวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี