โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สนองพระราชดำริโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อันมีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช  กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มาตั่งแต่ปี 2534 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากร อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืช ให้เกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำริโครงการดังกล่าว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ในโครงการพิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งอยู่ในช่วงแผนการดำเนินงานโครงการระยะ 5 ปีที่สี่ (ตุลาคม 2549- กันยายน 2554) ในกิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช  กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช และกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช การดำเนินงานที่ผ่านมามีความสำเร็จตามวัตถุประสงค์บางส่วน

สำหรับแนวทางการดำเนินโครงการระยะ 5 ปีที่ห้า (ตุลาคม 2554 – กันยายน 2559 )  จะเป็นการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องจากโครงการระยะ 5 ปีที่สี่ ซึ่งจะอยู่ในกรอบของโครงการระยะ 5 ปีที่ห้า ในกรอบการเรียนรู้ทรัพยากร   มีกิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช  กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช กรอบการใช้ประโยชน์ มีกิจกรรมอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช และกรอบการสร้างจิตสำนึก มีกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

เกี่ยวกับโครงการฯ

    แนวทางการดำเนินงาน 3 กรอบ 8 กิจกรรม   

 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ งานการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชนี้ได้ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีเริ่มตั้งแต่ที่เข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง หาพรรณพืชต่างๆ ที่หายากมาปลูกเอาไว้เพื่อคนรุ่นหลังจะได้เห็นได้ศึกษาต่อไป และก็มีงานด้านวิชาการต่างๆ ที่ทำกัน ที่จริงแล้วในประเทศไทยนี้ก็มีหน่วยงานหลายหน่วยที่สนใจในเรื่องของการอนุรักษ์พันธุ์พืชเพื่อการศึกษา
พืชพรรณต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศโครงการนี้ มีจุดประสงค์สำคัญที่จะให้หน่วยงานต่างๆ ที่ได้ทำงานมาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รวบรวมข้อมูลเพื่อทำให้วิชาการด้านนี้ก้าวหน้าไปและเป็นการประหยัดเพราะแทนที่ต่างคนต่างทำ

สืบสานพระราชปณิธานรักษาฐานทรัพยากรแผ่นดิน

มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ-
สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร มีพระราชดำริให้อนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ และดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

วัตถุประสงค์โครงการฯ

    อพ.สธ. - มทร.ธัญบุรี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    อพ.สธ. - มทร.ธัญบุรี

  1. เป็นแหล่งข้อมูลพืชพรรณเกี่ยวกับบัวและพืชท้องถิ่น
  2. เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้แบบบูรณาการเกี่ยวกับบัวและพืชท้องถิ่น
  3. เป็นองค์ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากบัวและพืชท้องถิ่น
  4. เพื่อพัฒนาและต่อยอดความรู้เกี่ยวกับบัวและพืชท้องถิ่น
  5. เป็นแหล่งปลูกจิตสำนึกให้มีความรักและหวงแหนพันธุกรรมพืช

แผนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ระยะ 5 ปีที่ห้า (ตุลาคม 2554 – กันยายน 2559) (79.5 KiB, 1034 downloads)

 

แผ่นพับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

NameSizeHits
NameSizeHits
01-แผ่นพับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)14.1 MiB381
02-แผ่นพับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) : งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น26.4 MiB328
03-แผ่นพับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) : กรอบการสร้างจิตสำนึก งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน3.0 MiB356