องค์ความรู้พร้อมใช้เพื่อบูรณาการการอนุรักษ์เเละใช้ประโยชน์จากบัว
21/06/2023กิจกรรมที่ 7 การถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จากกล้วย
30/06/2023ผู้รับผิดชอบโครงการ
กลุ่มบริการและเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ต้นไผ่ ต้นไม้สารพัดประโยชน์
ปัจจุบันต้นไผ่ถือเป็นไม้อีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมปลูกกันมากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจที่มีประโยชน์อย่างหลากหลาย และสามารถนำมาต่อยอดใช้สร้างรายได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรายได้จากต้นไผ่โดยที่ไม่ต้องมีการแปรรูปและการนำต้นไผ่ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
สำหรับสายพันธุ์ของไผ่ที่สามารถพบเห็นได้เป็นประจำบริเวณแถบเอเชียซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสภาพอากาศร้อนนั้นจะมีการกระจายพันธุ์อยู่ประมาณ 45 สกุล 750 ชนิด ส่วนชนิดของไผ่ที่พบได้ในประเทศไทยนั้นจะมีอยู่ด้วยกันประมาณ 13 สกุล 60 ชนิด โดยชนิดไผ่ที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์กันนั้นก็จะมี ไผ่ตง ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ไผ่ซาง ไผ่บงหวาน ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ไร่ ไผ่ลวกดำ และไผ่ป่า
ซึ่งการจะเลือกสายพันธุ์ของไผ่ไปปลูกนั้นจำเป็นที่จะต้องดูด้วยว่าปลูกในพื้นที่ลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศ เพราะมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นไผ่ที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงการนำไปใช้ประโยชน์ของที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย
วิธีการเลือกไผ่ และการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่
การเลือกปลูกไผ่ ควรเลือกจากการใช้งานก่อน แล้วจึงเลือกพันธุ์ไผ่ที่เหมาะจะปลูกและโตได้ดีในแต่ละโซนพื้นที่แต่ละภาค เช่น เหนือ อีสาน กลาง ใต้ โดยไผ่มีการนำไปใช้งานด้านต่างๆ ได้ดังนี้
- ไผ่ที่ใช้รับประทานหน่อ ( Bamboo which can be used to eat )
– หน่อไม้ดอง ดองเกลือ, ดองน้ำมะพร้าว / หน่อไม้แห้ง แบบฝอย แบบแผ่น / หน่อไม้ต้มสุก หน่อไม้ในขวด ในกระป๋อง
– อาหารจากหน่อไม้ต้มสุก ต้มจืดหน่อไม้ซี่โครงหมู แกงลาวหรือแกงเปรอะ ต้มหน่อมไ้หมูสามชั้นส้มตำหน่อไม้ แกงส้มกะทิหน่อไม้ ฯลฯ
– ไผ่เลี้ยงหวาน มีไซยาไนด์ ต้องต้ม 30 นาทีขึ้นไป
– หน่อไม้ไผ่ตง ดองน้ำมะพร้าว / ขายหน่อสด (แช่น้ำ 1 ชม ขึ้นไป หรือต้ม 30 นาที ลด ไซยาไนด์ 100%)
– คุณสมบัตร ต้านอนุมูลอิสระ / ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานีน
1.1 สายพันธุ์ ของไผ่ที่รับประทานหน่อขนาดเล็ก ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง / ไผ่บงหวานหน่อใหญ่ / ไผ่หวานหนองโดน / ไผ่เลี้ยงหวาน / ไผ่รวกหน่อหวาน
1.2 สายพันธุ์ ของไผ่ที่รับประทานหน่อขนาดกลาง ไผ่พันธุ์เพชรภูเรือหรือไผ่ยอดสยาม / ไผ่กิมซุง ทนน้ำ กอไม่สวย / ไผ่ตงลืมแล้ง
1.3 สายพันธุ์ ของไผ่ที่รับประทานหน่อขนาดใหญ่ ไผ่ปักกิ่ง หรือเม่งซุ้น / ไผ่ไจแอ้น / ไผ่เป๊าะเขียว ( แม่ตะวอ ) / ไผ่ตงหม้อ
- ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ ( Bamboo used to building and Furniture )
2.1 ลำขนาดใหญ่ ( เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้วขึ้นไป ) ไผ่ซางหม่น สายพันธุ์ต่างๆ / ไผ่ยักษ์น่าน / ไผ่โปก / ไผ่ตงยักษ์ ( ไผ่ตงหม้อ ) / ไผ่มันหมู / ไผ่เก้าดาว
2.2 ลำขนาดกลาง ( เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 นิ้ว ) ไผ่ซางหม่น “นวลราชินี” / ไผ่บงใหญ่ / ไผ่สร้างไพรดำ หรือไผ่สร้างไพรใหญ่ / ไผ่ซางนวล
2.3 ลำขนาดเล็ก ( เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว ) ไผ่รวกดำ / ไผ่เลี้ยงใหญ่ / ไผ่หางช้าง / ไผ่ลำมะลอก / ไผ่ด้ามขวาน / ไผ่รวก กาญจนบุรี
- ไผ่ที่ใช้ในการจักสาน ( Bamboo which used to basketry )
ไผ่ตายาย ( ลำห่าง ) / ไผ่นวล ( ลำห่าง ) / ไผ่บงคาย / ไผ่เฮี๊ยะ / ไผ่ซี้ / ไผ่หก ( แม่ฮ่องสอน )
- ไผ่เพื่อการผลิตถ่านชีวมวล ( Bamboo which used to generate biomass )
ไผ่กิมซุงใช้ลำทำพลังงานชีวมวลได้ดีมาก ผลิตพลังงานชีวมวลที่มีคุณภาพสูง
ไผ่กับการดูแลสุขภาพ
1. ลูกประคบสมุนไพรผสมใบไผ่
การนวดประคบสมุนไพร เป็นการนำลูกประคบสมุนไพรสดหรือสมุนไพรแห้งที่มีส่วนผสมของใบไผ่
นึ่งให้ร้อน และนำมาประคบตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การประคบสมุนไพรมีประโยชน์ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยลดอาการบวม บรรเทาการอักเสบของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ในหญิงหลังคลอดช่วยลดอาการตึงคัดของเต้านม
2. สมุนไพรอบไอน้ำผสมใบไผ่
การอบไอน้ำสมุนไพร เป็นการนำสมุนไพรสดหรือแห้งหลายๆ ชนิด มาต้มเพื่อให้เกิดไอน้ำขึ้นภายในตู้อบหรือกระโจม นิยมใช้ในการบำบัดและส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น การอบไอน้ำสมุนไพร มีประโยชน์ช่วยในการกระตุ้นระบบการไหลเวียนเลือด บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยให้หลอดลมขยายหายใจสะดวกมากขึ้น และขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอด
3. ยาดมสมุนไพรผสมกลิ่นไผ่
ยาดมสมุนไพร เป็นยาประเภทใช้ภายนอก ใช้สำหรับสูดดม เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้วิงเวียนศีรษะ มีขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยาก มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน เมารถ หน้ามืด ตาลาย เป็นหวัด คัดจมูก อ่อนเพลีย
4. ชาสมุนไพรผสมใบไผ่
ชาสมุนไพร เป็นเครื่องดื่มซึ่งมีรูปแบบและวิธีการบริโภคเช่นเดียวกับชา แต่ชาสมุนไพรผลิตจากพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ และใบไผ่ ที่มีกลิ่นรสที่หอมละมุน มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงสุขภาพ แก้หวัด
วัตถุประสงค์ : เพื่อตอบสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)
ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์ : กิจกรรมการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก “ไผ่” โดยการศึกษาการใช้ประโยชน์จากไผร่วมกับสมุนไพรเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผิวภายนอก และการใช้ประโยชน์ในเรื่องของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพร
ผลผลิตของกิจกรรมการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก “ไผ่” ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ ในจังหวัดปทุมธานี และตัวชี้วัด
การแปรรูปผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร และสมุนไพรอบไอน้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำมันไพล และยาหม่องไพล / ยาหม่องสมุนไพร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพร และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนใบเตย และใบไผ่
พืชที่นำมาใช้ประโยชน์ : ไพล ขมิ้น ใบมะขาม ตะไคร้ ผิวมะกรูด ใบหม่อน ใบเตย ส้มโอมือ ไผ่
พื้นที่/ชุมชนเป้าหมาย : องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
ลักษณะผลงาน : การสร้างองค์ความรู้พื้นฐานการใช้ประโยชน์จากไผ่ ร่วมกับสมุนไพรท้องถิ่น โดยนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดการสร้างรายได้ของกลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการ ประชาชนทั่วไป และกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี สำหรับการผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพจากไผ่และสมุนไพร
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ เรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จาก “ไผ่” โดดแปรรูปผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพผิวภายนอก และผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพร
1. ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรผสมใบไผ่ และสมุนไพรผสมใบไผ่อบไอน้ำ
เป็นการดูแลสุขภาพด้วยการใช้ประโยชน์จากใบไผ่ผสมสมุนไพรด้วยการใช้ลูกประคบสมุนไพรแห้ง และการอบไอน้ำด้วยการใช้สมุนไพรแห้ง สำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในร่างการให้ดีขึ้น
การห่อลูกประคบสมุนไพรผสมใบไผ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ในด้านการดูแลสุขภาพ
สมุนไพรผสมใบไผ่อบไอน้ำ
การแปรรูปผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรผสมใบไผ่ และและสมุนไพรผสมใบไผ่อบไอน้ำ
2. ผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพรผสมใบไผ่
ยาดมสมุนไพร ใช้สำหรับสูดดม เพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน เมารถ หน้ามืด ตาลาย เป็นหวัด คัดจมูก อ่อนเพลีย
การแปรรูปผลิตภัณฑ์เครื่องหอมใบไผ่ผสมสมุนไพร
3. ผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนผสมใบเตยผสมใบไผ่
ชาใบหม่อนผสมใบเตยผสมใบไผ่ เป็นเครื่องดื่มซึ่งมีรูปแบบของชาสมุนไพร มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด ช่วยขจัดไขมันส่วนเกินในร่างกายได้ดี และช่วยบำรุงหัวใจ
การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาใบไผ่ลวกผสมสมุนไพรที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ เรื่อง โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จาก “ไผ่” ภายใต้กรอบการพัฒนาชุมชนพึ่งตนเองตามแนวทางพระราชดำริ และหนุนเสริมการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์การพัฒนามหาวิทยาลัยฯ จากการถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จาก “สมุนไพร” ได้แก่ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร และสมุนไพรอบไอน้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำมันไพล และยาหม่องไพล การแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนผสมใบเตยผสมใบไผ่ ให้กลุ่มชุมชน นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจ เพื่อตอบสนองการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีศักยภาพได้อย่างยั่งยืน เอื้อกับวิถีชีวิตมีความเหมาะสมกับบริบทของชุมชน อันจะเป็นการเสริมสร้างรายได้และความมั่นคงให้กับชุมชน โดยทีมงานจากสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับทีมคณะการแพทย์บูรณาการ