พิธีเปิดโครงการอบรม การพิมพ์ผ้าลายสีธรรมชาติจากบัวหลวงและบัวสาย เมื่อวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2566
03/02/2023กิจกรรมที่ 1 การถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จากโปรตีนทางเลือก
09/05/2023การพิมพ์ลายผ้าสีธรรมชาติจากบัวหลวงและบัวสาย 3-5 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อาคารพิพิธภัณฑ์บัว นักเรียนเข้าเรียนเต็มห้องครบทั้ง 3 วัน ผู้เรียนสุขใจ..ผู้สอนก็แสนปลื้มใจ โครงการบรรลุวัตถุประสงค์เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้
การนำสีธรรมชาติจากบัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สามารถผลิตสินค้าวางขายในท้องตลาดและเพิ่มมูลค่าของผ้าพิมพ์สีธรรมชาติ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสีย้อม ผู้ผลิตและผู้ใช้มีความปลอดภัย สีธรรมชาติมีคุณสมบัติเด่นเฉพาะตัว คือ สีสวย สบายตา ไม่ฉูดฉาด และมีต้นทุนในการผลิตต่ำ เสน่ห์ของผ้าพิมพ์สีธรรมชาติอยู่ที่แต่ละชิ้นงานไม่ซํ้าแบบกัน มีชิ้นเดียวในโลก ผ้าแต่ละผืนที่ได้เกิดจากภูมิปัญญาและจินตนาการสร้างสรรค์ นับเป็นการสร้างนวัตกรรมและเกิดผลงานแนวทางใหม่ที่มีคุณค่าของเนื้อหาและรูปทรงที่สะท้อนลักษณะเฉพาะตัว เป็นการผลิตวัสดุที่พึ่งพาตนเองจากพืชท้องถิ่น มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ผลจากการสร้างสรรค์สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ด้วยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
หลักการและเหตุผล
สีย้อมธรรมชาติสามารถหาวัตถุดิบได้ง่ายและหลากหลายในท้องถิ่น จากต้นไม้ ใบไม้ ที่ให้สีสันสวยงามและหลากหลายตามที่ต้องการ สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable dyes) จัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ในการย้อมผ้าและเส้นใยจากสีธรรมชาติ สามารถสร้างเฉดสีให้หลากหลายด้วยการใช้สารช่วยติดสี (Mordant) โดยกลุ่มของสารประกอบทางเคมีที่ให้สีในส่วนต่าง ๆ ของพืชแต่ละชนิด สีธรรมชาติจากบัวให้โทนสีเหลือง น้ำตาล (เยาวมาลย์ และคณะ, 2561) ซึ่งเป็นข้อจำกัดของสีที่เกิดความแตกต่างน้อย เนื่องจากพืชแต่ละชนิดมีความสามารถในการติดสีได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางชีวเคมีภายในของพืช จึงต้องใช้สารติดสีเป็นตัวช่วยในการดูดซับให้มีความคงทนต่อแสงเพิ่มขึ้น ซึ่งคุณสมบัติสารช่วยติดสี นอกจากจะเป็นสารที่ช่วยในการยึดและจับสีแล้ว ยังทำให้ได้เฉดสีใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม การย้อมสีโดยใช้สารช่วยติดสี (Mordant dying) เป็นการย้อมแบบใช้สารช่วยติดสีช่วยยึดระหว่างเส้นใยและสีให้ดีขึ้น จะทำให้สีมีความคงทน ไม่ตกสี สารช่วยติดสีที่ใช้ ได้แก่ สารละลายของเกลือโลหะ เช่น สารส้ม (Alum, Al2(SO4)) มีคุณสมบัติช่วยจับยึดสี และช่วยให้สีสดสว่างขึ้น จุนสี (Copper sulfate, CuSO4) ติดสีโทนสีเขียวเข้มหรือเขียวอ่อน และสนิมเหล็ก (Ferrous sulfate, FeSO4) ช่วยให้สีติดและช่วยเปลี่ยนเฉดสีธรรมชาติเดิมเป็นสีโทนเทาดำ เป็นต้น
บัว เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ทั้งในพิธีการทางพุทธศาสนา และการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม จังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดที่มีการปลูกบัวเป็นจำนวนมากเกือบทุกพื้นที่ มีดอกบัวเป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นหน่วยงานสนองโครงการพระราชดำริ ฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มีการปลูกบัวเพื่อเป็นการอนุรักษ์ การศึกษาเรียนรู้ การวิจัย รวมถึงการใช้ประโยชน์ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 มีการศึกษาและพัฒนาแนวทางในการเพิ่มมูลค่าพืชท้องถิ่นในชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด การศึกษาวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากบัว ซึ่งพบว่ายังไม่มีรายงานการวิจัยหรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของบัวเพื่อนำมาใช้พิมพ์ผ้าสีย้อมธรรมชาติ โครงการวิจัยที่นำเสนอนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการนำองค์ความรู้และทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ ในท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นผู้ดำเนินโครงการจึงมีแนวคิดในการพัฒนาพิมพ์ลายผ้าสีธรรมชาติจากบัวหลวงและบัวสาย ซึ่งเป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นให้กับชุมชนและผู้สนใจ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอดในงานของตนเองได้ เพื่อให้สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่คงคุณค่า และเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสร้างงานสร้างอาชีพสู่ชุมชนไปพร้อมกัน
วิธีการ
1. การพิมพ์ลายผ้าสีธรรมชาติจากบัว ลักษณะทางกายภาพของดอกและใบบัว ชนิดผ้า สารช่วยติดสีวิธีการและขั้นตอนการพิมพ์สีธรรมชาติจากบัว การออกแบบลวดลายการพิมพ์ผ้า และการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์
2. ขั้นตอนการพิมพ์สีธรรมชาติจากบัวโดยวิธีการทุบบนผืนผ้า
3. การเตรียมสารช่วยติดสีและการเตรียมผ้า และการออกแบบลวดลายการพิมพ์ผ้า
4. ขั้นตอนและวิธีการพิมพ์สีธรรมชาติจากบัวโดยวิธีการนึ่ง
5. ขบวนการออกแบบลวดลาย เทคนิคการพิมพ์เป็นผืนผ้า
6. ขั้นตอนและวิธีการเตรียมน้ำย้อมสีธรรมชาติ
7. ขั้นตอนและวิธีการพิมพ์สีธรรมชาติจากบัวโดยวิธีการห่มผ้า (Blanket)
8. ขั้นตอนการห่มสี ม้วน มัด และนึ่งผ้าพิมพ์ลายสีธรรมชาติจากบัว
9. การซักและดูแลรักษา
10. การพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์
หลักการและเหตุผล
สีย้อมธรรมชาติสามารถหาวัตถุดิบได้ง่ายและหลากหลายในท้องถิ่น จากต้นไม้ ใบไม้ ที่ให้สีสันสวยงามและหลากหลายตามที่ต้องการ สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable dyes) จัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ในการย้อมผ้าและเส้นใยจากสีธรรมชาติ สามารถสร้างเฉดสีให้หลากหลายด้วยการใช้สารช่วยติดสี (Mordant) โดยกลุ่มของสารประกอบทางเคมีที่ให้สีในส่วนต่าง ๆ ของพืชแต่ละชนิด สีธรรมชาติจากบัวให้โทนสีเหลือง น้ำตาล (เยาวมาลย์ และคณะ, 2561) ซึ่งเป็นข้อจำกัดของสีที่เกิดความแตกต่างน้อย เนื่องจากพืชแต่ละชนิดมีความสามารถในการติดสีได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางชีวเคมีภายในของพืช จึงต้องใช้สารติดสีเป็นตัวช่วยในการดูดซับให้มีความคงทนต่อแสงเพิ่มขึ้น ซึ่งคุณสมบัติสารช่วยติดสี นอกจากจะเป็นสารที่ช่วยในการยึดและจับสีแล้ว ยังทำให้ได้เฉดสีใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม การย้อมสีโดยใช้สารช่วยติดสี (Mordant dying) เป็นการย้อมแบบใช้สารช่วยติดสีช่วยยึดระหว่างเส้นใยและสีให้ดีขึ้น จะทำให้สีมีความคงทน ไม่ตกสี สารช่วยติดสีที่ใช้ ได้แก่ สารละลายของเกลือโลหะ เช่น สารส้ม (Alum, Al2(SO4)) มีคุณสมบัติช่วยจับยึดสี และช่วยให้สีสดสว่างขึ้น จุนสี (Copper sulfate, CuSO4) ติดสีโทนสีเขียวเข้มหรือเขียวอ่อน และสนิมเหล็ก (Ferrous sulfate, FeSO4) ช่วยให้สีติดและช่วยเปลี่ยนเฉดสีธรรมชาติเดิมเป็นสีโทนเทาดำ เป็นต้น
บัว เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ทั้งในพิธีการทางพุทธศาสนา และการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม จังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดที่มีการปลูกบัวเป็นจำนวนมากเกือบทุกพื้นที่ มีดอกบัวเป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นหน่วยงานสนองโครงการพระราชดำริ ฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มีการปลูกบัวเพื่อเป็นการอนุรักษ์ การศึกษาเรียนรู้ การวิจัย รวมถึงการใช้ประโยชน์ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 มีการศึกษาและพัฒนาแนวทางในการเพิ่มมูลค่าพืชท้องถิ่นในชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด การศึกษาวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากบัว ซึ่งพบว่ายังไม่มีรายงานการวิจัยหรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของบัวเพื่อนำมาใช้พิมพ์ผ้าสีย้อมธรรมชาติ โครงการวิจัยที่นำเสนอนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการนำองค์ความรู้และทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ ในท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นผู้ดำเนินโครงการจึงมีแนวคิดในการพัฒนาพิมพ์ลายผ้าสีธรรมชาติจากบัวหลวงและบัวสาย ซึ่งเป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นให้กับชุมชนและผู้สนใจ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอดในงานของตนเองได้ เพื่อให้สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่คงคุณค่า และเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสร้างงานสร้างอาชีพสู่ชุมชนไปพร้อมกัน
วิธีการ
1. การพิมพ์ลายผ้าสีธรรมชาติจากบัว ลักษณะทางกายภาพของดอกและใบบัว ชนิดผ้า สารช่วยติดสีวิธีการและขั้นตอนการพิมพ์สีธรรมชาติจากบัว การออกแบบลวดลายการพิมพ์ผ้า และการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์
2. ขั้นตอนการพิมพ์สีธรรมชาติจากบัวโดยวิธีการทุบบนผืนผ้า
3. การเตรียมสารช่วยติดสีและการเตรียมผ้า และการออกแบบลวดลายการพิมพ์ผ้า
4. ขั้นตอนและวิธีการพิมพ์สีธรรมชาติจากบัวโดยวิธีการนึ่ง
5. ขบวนการออกแบบลวดลาย เทคนิคการพิมพ์เป็นผืนผ้า
6. ขั้นตอนและวิธีการเตรียมน้ำย้อมสีธรรมชาติ
7. ขั้นตอนและวิธีการพิมพ์สีธรรมชาติจากบัวโดยวิธีการห่มผ้า (Blanket)
8. ขั้นตอนการห่มสี ม้วน มัด และนึ่งผ้าพิมพ์ลายสีธรรมชาติจากบัว
9. การซักและดูแลรักษา
10. การพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์
โดยมีวิทยากร ดังนี้
1.นางเยาวมาลย์ นามใหม่ (กองกลาง ฝ่ายพิพิธภัณฑ์บัว)
2.ดร.สุภา จุฬคุปต์ (คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์)
3.ผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธร (คณะเทคโนโลยีการเกษตร)
4.ผศ.อรสุชา อุปกิจ (คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน)
5.นายกฤษณะ กลัดแดง (กองกลาง ฝ่ายพิพิธภัณฑ์บัว)
1.นางเยาวมาลย์ นามใหม่ (กองกลาง ฝ่ายพิพิธภัณฑ์บัว)
2.ดร.สุภา จุฬคุปต์ (คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์)
3.ผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธร (คณะเทคโนโลยีการเกษตร)
4.ผศ.อรสุชา อุปกิจ (คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน)
5.นายกฤษณะ กลัดแดง (กองกลาง ฝ่ายพิพิธภัณฑ์บัว)