โครงการแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการด้านบริการวิชาการ วันที่ 21 พฤษภาคม 2567
21/05/2024โครงการการพัฒนาแป้งโดว์สำหรับเด็กปฐมวัยจากกากมะพร้าวเหลือทิ้ง เมื่อวันที่ 8–9 มิถุนายน พ.ศ. 2567
09/06/2024เพื่อนำวัสดุเหลือใช้หรือเหลือทิ้งทางการเกษตร เป็นแหล่งเก็บกักพลังงานจากธรรมชาติรูปแบบหนึ่ง และสามารถนำพลังงานที่เก็บไว้มาผลิตพลังงานได้ วัสดุหรือสารอินทรีย์ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานได้ เช่น เศษไม้ ปลายไม้จากอุตสาหกรรมไม้ มูลสัตว์ ของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร และของเสียจากชุมชน เป็นต้น อีกทางเลือกหนึ่งในการนำของเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ก็คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเหลือทิ้งทางการเกษตรนั้น ๆ สถานการณ์ปริมาณวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นแหล่งผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยกลุ่มธุรกิจภาคเกษตรกรรมจัดอยู่ในกลุ่มวิสาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการเจริญเติบโตสูงในระดับ ประเทศ (SME High Growth Sectors) หากแต่วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากนัก บัวเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ทั้งในพิธีการทางพุทธศาสนา และการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ซึ่งทางฝ่ายพิพิธภัณฑ์บัวมีการปลูกเพื่อเป็นการอนุรักษ์ และเพื่อการศึกษาเรียนรู้ การวิจัย รวมถึงการใช้ประโยชน์ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 เมื่อมีการตัดแต่งต้นบัว ก้านบัว และใบบัว จะถูกทิ้งให้เป็นขยะ ถ้านำไปเผาทิ้งก็จะกลายเป็นมลพิษทางอากาศ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็จะเกิดกลิ่นเน่าเหม็น สร้างมลภาวะเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรควรได้รับการจัดการให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
กระดาษลายน้ำจากก้านบัว เป็นกระดาษเชิงหัตถกรรมธรรมชาติ มีผิวสัมผัสที่สวยงาม จากการตกแต่งลายน้ำด้วยการหยดน้ำจากที่สูงให้หยดลงบนแผ่นเฟรม ที่มีแผ่นลายอยู่ด้านบนจะทำให้เกิดลวดลายบนกระดาษ สวยงาม แปลกใหม่ สามารถนำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ บรรจุภัณฑ์ งานศิลปะที่เน้นความสวยงาม หรืองานเคหะภัณฑ์ได้หลากหลายรูปแบบ เนื่องจากสมบัติด้านความแข็งแรง ความเหนียว และความยืดหยุ่นของเนื้อกระดาษ ที่จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความคงทน แต่ยังคงเอกลักษณ์ของลวดลายของก้านบัวขาวมงคลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ยังไม่มีในท้องตลาด โดดเด่นด้านผิวสัมผัสของกระดาษ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ นอกจากจะทำให้ผู้ผลิตมีช่องทางการจำหน่ายกระดาษเพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะส่งผลดีต่อการสร้างแรงจูงใจในการใช้ประโยชน์จากบัวให้แก่เกษตรกร โครงการที่นำเสนอนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการนำองค์ความรู้และทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถนำไปใช้ทดลองผลิตในระดับอุตสาหกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจต่อไปได้
วิทยากรประกอบไปด้วย
1. นางเยาวมาลย์ นามใหม่ (กองกลาง ฝ่ายพิพิธภัณฑ์บัว)
2. นางวรรณภา โรจน์สุวณิชกร (คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์)
3. ผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธร (คณะเทคโนโลยีการเกษตร)
การบูรณาการกับภารกิจอื่น
มีการเผยแผ่องค์ความรู้ให้กับนักศึกษาที่มาเรียนวิชาอัตลักษณ์แห่งราชมงคล หรือรายวิชาอื่น ที่มาศึกษาเรียนรู้ที่พิพิธภัณฑ์บัว ถึงความเป็นมาของกระดาษลายน้ำ การออกแบบลวดลายต้นแบบ และผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากกระดาษลายน้ำก้านบัวขาวมงคล ซึ่งจะเป็นแนวคิด ในการพัฒนา หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด มีความประณีต สวยงาม คงทน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และคงอัตลักษณ์ของความเป็นบัว