โครงการการยกระดับและถ่ายทอดนวัตกรรมการปลูกข้าวด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพร่วมกับมูลไส้เดือนเพื่อพัฒนาสู่มาตรฐาน GAP เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2567
16/05/2024โครงการแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการด้านบริการวิชาการ วันที่ 21 พฤษภาคม 2567
21/05/2024หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของไทยยังจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาและยกระดับการผลิตข้าวอีกมาก เพื่อให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดต้นทุน และการพัฒนาคุณภาพของกระบวนการผลิต และผลิตให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดหรือผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแล้วยังสร้างความปลอดภัยให้กับเกษตรกรผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ที่ผ่านมารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญกับกับกับการผลิตข้าวภายใต้ระบบเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐานเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าข้าว ซึ่งมาตรฐานการผลิตขั้นพื้นฐานที่จำเป็นที่สุดคือ มาตรฐานของระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีที่ดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice: GAP) ซึ่งหมายถึง การปฏิบัติในกระกกระบวนการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพ เพื่อให้ผลิตไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ศัตรูพืชและสิ่งเจือปนทางกายภาพ มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่กำหนดปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแนวทางที่ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้ปลอดภัยและมีคุณภาพตามมาตรฐานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ สอดคล้องกับทิศทางค้าข้าวในอนาคต ข้อแนะนำที่สำคัญประการหนึ่งของมาตรฐาน GAP คือ การพัฒนากระบวนการผลิตด้วยการลดการใช้สารเคมี โดยเฉพาะเกษตรผู้ปลูกข้าวในเขตจังหวัดปทุมธานีที่มีวิถีการทำการเกษตรที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก โดยเกษตรกรหันมาใช้วิธีการจ้างแรงงานเกือบทุกขั้นตอนในการผลิตส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น มีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเพื่อควบคุมและกำจัดศัตศัตรูพืชเนื่องจากสะดวก รวดเร็วและเห็นผลทันที แม้ว่าสำนักงานส่งเสริมการเกษตรจะมีโครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน (GAP) แต่ก็ยังมีเกษตรกรที่ยังไม่เคยเข้าร่วมหรือเข้าร่วมโครงการแต่ยังไม่ผ่านการรับรอง GAP ข้าว ซึ่งส่วนใหญ่พบว่ามีปัญหาในการดำเนินงานหลายประการ เช่น เกษตรกรไม่ปฏิบัติตามชขั้นตอนหรือปฏิบัติไม่ครบทุกขั้นตอน เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตตามระบบมาตรฐาน GAP ข้าว ไม่มีการจดบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกประจำตัวเกษตรกร (แบบ GAP 02) ผลผลิตที่เกษตรกรกรผลิตได้มีสารเคมีตกค้าง และไม่ตรงตามมาตรฐานสินค้าเกษตรกำหนด เป็นต้น
วิทยากรประกอบไปด้วย (อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
1. รศ.ดร.สมพงษ์ แสนแสนยา
2. ผศ.ดร.เนตรนภิส แก้วช่วย
3. ผศ.ดร.เอื้องฟ้า บรรเทาวงษ์
4. ผศ. ฐิติยา ศรขวัญ
5. ผศ.ดร.ประดับรัฐ ประจันเขตต์
6. ผศ.สุจยา ฤทธิศร
7. อ.ดร.ชาคร ชินวงศ์อมร
8. อ.ดร.เจ๊ะฮาซัน เจ๊ะอุบง
9. อ.ดร.นรพร กลั่นประชา
10. ดร.วรกวี ชุมวรฐายี
11. ดร.พนารัตน์ ทองเพิ่ม
12. อ.ไพฑูรย์ ทรัพย์อุดม
การบูรณาการกับภารกิจอื่น
บูรณาการกับเรียนการสอนรายวิชาชีววิทยา 2 และ/หรือวิชานิเวศวิทยาและชีววิทยาการอนุรักษ์ และ/หรือจุลชีววิทยาทั่วไป