โครงการผงอาหารเสริมไอโซฟลาโวน และมูลค่าเพิ่มผลผลิตข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ มาตรฐานอาหารและยา ในเชิงพาณิชย์ (ครั้งที่ 1) เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2567
20/01/2024โครงการยกระดับการตลาดสินค้าชุมชนด้วยการตลาดดิจิทัล กิจกรรมที่ 1
27/01/2024ผศ. ดร. สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาชีววิทยา มทร.ธัญบุรี ร่วมกับ อบต.บึงบาและเครือข่ายฯ ลงพื้นที่ให้บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารเสริมไอโซฟลาโวน เพื่อการเกษตร จากข้าวไรซ์เบอร์รี่มาตรฐานอินทรีย์ไทย ให้แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนสวนเราเกษตรอินทรีย์หนองเสือ จังหวัดปทุมธานี สู่เครือข่ายบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนศาลาครุ และวิสาหกิจชุมชนบึงบอน เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2567 เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ข้าวไรซ์เบอรี่และรำข้าว ในการผลิตสารปรุงดินผสมอาหารเสริมไอโซฟลาโวนต่อยอดและยกระดับมาตรฐาน Q & IFOAM และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Eco value) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
1. เศรษฐกิจ เพิ่มผลผลิต/รายได้อินทรีย์ ≤ 10%
2. สังคม ลด/กำจัดสารอันตรายสะสมที่มีผลต่อสุขภาพ 1 องค์ความรู้
3. สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี/นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเรื่อง การใช้ประโยชน์อาหารเสริมกัดชีวภาพ 1 องค์ความรู้
ผศ. ดร. สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ ได้บูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ร่วมกับเทคโนโลยีการสกัดแรงดันไอน้ำ (steam distillation technology) เทคโนโลยีการเคลือบด้วยสารอินทรีย์นาโน (Encapsulation technology) จากวัสดุเหลือทิ้งดังกล่าวข้างต้น เพื่อการผลิตผงอาหารเสริมบริสุทธิ์ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ในกลุ่มสารประกอบฟีนอล (phenolic compounds) คือ ไอโซฟลาโวน (isoflavones) วิตามินเอ วิตามินซี เกลือแร่ คือ สังกะสี (Zn) เหล็ก (Fe) แมงกานีสซีโอไลด์ (MnSiO) กรดอะมิโน โปรตีน ฮอร์โมน จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรข้าว ได้แก่ รำ แกลบสด หรือผลผลิตเกษตร ได้แก่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เคล ผักสลัด ฟักข้าว มะเขือเทศ สมุนไพร ได้แก่ ใบย่านาง กระท่อม ฟ้าทะลายโจร อื่นๆ (Rattanaloeadnusorn et al. 2023; Adenvine et al 2019; Park et al. 2016; Laohabutr, 2000) สำหรับการนำสารสกัดสารประกอบฟีนอลนี้คือ ไอโซฟลาโวน (isoflavones) ไปใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรพืชและสัตว์น้ำ ช่วยขับไล่แมลงที่มารบกวนข้าวและสวนผัก เร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิตพืชและสัตว์ทางการเกษตร 100-300 เปอร์เซ็นต์ ผลดกขั้วผลเหนียว ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคที่มีเปอร์เซ็นต์การเกิดในปฏิกิริยาที่ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC 50) 14.51 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร (ผดุงกิจและคณะ 2555) เพิ่มปริมาณสารประกอบอาหารหลักรองและเสริม เพิ่มภูมิคุ้มกันในการเกิดโรค ลด/ยับยั้งการแลกเปลี่ยนกับโลหะหนักปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี ลดกสารเคมีอันตรายไนเตรตสะสมที่มีผลต่อสุขภาพในผลผลิต เพิ่มรสชาติ เนื่องจากสารอินทรีย์ออกฤทธิ์ในกลุ่มของสารประกอบฟีนอล ที่มีอะลูมิโนซิลิเกตหรือแมงกานีสซิโอไลด์ สามารถลด/ยับยั้งการแลกเปลี่ยนกับโลหะหนักตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ซิลเวอร์ไอออน และแมงกานีสซีโอไลด์ แพคตินหรือนาโนเซลลูโลส ปนเปื้อนในดินน้ำ มีคุณสมบัติเป็น reversible dehydration ซึ่งเป็น Molecular sieve ของแมงกานีสซีโอไลด์ มีคุณสมบัติแตกต่างจากตัวดูดซับทั่วไปคือมีคุณสมบัติเป็นตัวสารดูดซับโลหะหนักอันตรายได้ดี การแยกแก๊สและไอของผสม เช่น แอมโมเนีย ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่เป็นอันตรายและยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ดี และยังช่วยลดการเกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่นในระบบสิ่งแวดล้อมแหล่งน้ำ เพิ่มสารอินทรีย์ออกฤทธิ์ (Adenvine et al 2019; Laohabutr, 2000; Rattanaloeadnusorn et al. 2023) และสารอินทรีย์ออกฤทธิ์ในกลุ่มของสารประกอบฟีนอล ที่มีอะลูมิโนซิลิเกตหรือแมงกานีสซิโอไลด์ (Rattanaloeadnusorn et al. 2023) ยังช่วยปรับสภาพดินร่วนซุย ไม่แข็ง เนื่องจากในกลุ่มของสารประกอบฟีนอล ที่มีอะลูมิโนซิลิเกตหรือแมงกานีสซิโอไลด์ สามารถดูดกักน้ำได้ดีกว่าปูนขาว ปูนมาร์ล เปลือกหอย เปลือกไข่ นั้นคือ แมงกานีสซีโอไลด์ มีคุณสมบัติเป็น ion exchange สามารถเกิดกระบวนการ water softening และ water treatment (Ratanaloeadnusorn et al., 2022; Adenvine et al 2019; Park et al. 2016; Laohabutr, 2000) นอกจากนี้ พบว่าสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ในกลุ่มของสารประกอบฟีนอลไอโซฟลาโวน ยังมีคุณสมบัติช่วยปรับสมดุลร่างกาย ช่วยขับพิษ ต้านการอักเสบ ต้านการกลายพันธุ์มีฤทธิ์ช่วยลดไข้ ลดความร้อน เนื่องจากสารสกัดสารต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟีนอล ช่วยต้านการทำงานของเอนไซม์ไซโคลออกซิจิเนส (Cyclooxygenase ชื่อย่อว่า COX) หรือ Prostaglandin-endoperoxide synthase (PTGS) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการทำงานของสารที่ก่อให้เกิด การอักเสบ ปวด บวม และการอักเสบของเนื้อเยื้อต่างๆของร่างกาย มีฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชัน ช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระ ที่จะทำลายเซลล์ภายในร่างกาย (เซลล์เกิดความเสียหายและนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ) ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ลดความเสื่องต่อการเกิดโรคได้ (Adenvine et al 2019; Park et al. 2016; Laohabutr, 2000)
ดังนั้น กลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีและเครือข่ายฯ จึงมีความต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโชน์ผงสารอินทรีย์ออกฤทธิ์ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ไอโซฟลาโวน (iso-flavon) บนสารตัวเติมที่มีโปรตีน ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม คือ อะลูมิโนซิลิเกตหรือแมงกานีสซิโอไลด์ ซิลิกา โบรอท โมลิบตินั้ม อะลูมิโนซิลิเกต วิตามิน โฟลิก (Folic acid,B9) โอเมกา ลูทีน เกลือแร่เหล็ก สังกะสี ที่ได้มาตรฐานอาหารและยา (อย.) GMP HACCP สำหรับการผลิตสินค้าเกษตรต่อยอด คือ สารปรับปรุงดิน เคลือบผสมปุ๋ยชีวภาพและผงอาหารเสริมพืชและหัวเชื้อจุลินทรีย์โพและพรีไบโอติก ที่ได้มาตราฐาน Q มาตราฐาน IFOAM ในเชิงพาณิชย์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ (eco value) ให้แก่เกษตรกรวิสาหกิจชุมชน บริษัท เนื่องจากชีวภัณฑ์เกษตรที่ต่อยอด ร่วมกับผงสารอินทรีย์ออกฤทธิ์ฟลาโวนอยด์ (flavonoids และหัวเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษืที่ดีนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทดแทนการใช้สารเคมี ลดสารอันตรายสะสมและปนเปื้อนที่มีผลต่อสุขภาพ การยกระดับชีวภัณฑ์ทางด้านการเกษตร การประมง และสัตว์เลี้ยง ได้มาตรฐานอินทรีย์ไทย สำหรับการจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ต่อไป