บัวกับศิลปะ
18/09/2019องค์ประกอบทางโภชนาการและการใช้ประโยชน์ทางยาของเมล็ดข้าวจากข้าวพันธ์พื้นเมืองในจังหวัดปทุมธานี
23/09/2019โครงสร้างบัวสกุลปทุมชาติ (Nelumbo)
บัวในวงศ์ปทุมชาติ (Nelumbonaceae) กลุ่มที่มีถิ่นกําเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า ปทุมชาติเขตร้อน คนไทยเรียกว่า บัวหลวง (lotus) นิยมนํามาตัดดอกบูชาพระ เมล็ด และเหง้า (รากบัว) นํามาประกอบอาหารได้ สามารถปลูกได้ในระดับน้ําตั้งแต่ 1-2 เซนติเมตร ไปจนถึง 2-3 เมตร
ลักษณะทางกายภาพ
ลําต้น (stolon, rhizome)
เจริญเติบโตขนานเรียใต้ผิวดินใต้น้ํา ลําต้นอ่อนมีลักษณะเป็นก้านอ่อนสีขาวขุ่น เรียกว่า ไหล (stolon) ลําต้นแก่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแข็งสีครีมหรือน้ําตาลอ่อน เรียกว่า เหง้าที่เจริญเติบโตในแนวนอน (rhizome) แต่เวลานํามาประกอบ อาหารนิยม เรียกว่า รากบัว
ก้านใบ (petiole)
เปลือกแข็งมีตุ่มหนามเล็กๆ (spiny) ส่งแผ่นใบชูสูงแผ่เหนือผิวน้ําเมื่อต้น สมบูรณ์เต็มที่
ใบบัว (leaf blade)
รูปทรงกลม (orbicular) ลักษณะฐานใบ (senus) หรือโคนใบปิด (peltate) โคนและปลายใบเว้าเข้า (connate-perfoliate) ใบอ่อนใต้น้ําจะห่อตัว จนส่งใบพ้นน้ําประมาณ 1 สัปดาห์ จึงคลี่แผ่ หน้าใบไม่จับน้ํา ใบมีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 5-10 เซนติเมตร ไปจนถึง 30-40 เซนติเมตร ตามขนาดของต้นและพันธุ์
ก้านดอก (peduncle)
เปลือกแข็งมีตุ่มหนามเล็กๆ ส่งให้ดอกชูสูงเหนือผิวน้ำ
ดอกบัว (flower)
ดอกเดี่ยว ทรงดอกมีทั้งทรงแหลมและป้อม กลีบดอกมีทั้งซ้อนและไม่ซ้อน ขนาดเล็ก หรือใหญ่ ตามแต่พันธุ์ เริ่มบานตอนรุ่งสาง
กลีบเลี้ยง (sepal)
ทั่วไปมี 4-6 กลีบ ขนาดเล็กกว่ากลีบดอกชัดเจน
กลีบดอก (petal)
รูปทรง เดียวกับทรงดอก กลีบจํานวนมาก สี ขาว หรือ ชมพู หรือ แดง หากกลีบดอกเป็นสีเหลือง มักเป็น ปทุมชาติเขตอบอุ่น-หนาว
เกสรเพศผู้ (Stamen)
ประกอบด้วยก้านชูอับละอองเกสรทรงฝักยาวสีเหลือง ภายในมีละอองเกสร สีเหลือง ตรงปลายมีระยางค์เป็นสิ่งเล็กสีขาวขุ่น มีทั้งลักษณะปกติ และลักษณะ ที่เป็นหมันคล้ายกลีบ ผล (fruit) คือ เมล็ดบัว (seed) ที่มีเปลือกหุ้ม เกิดอยู่ในฝักบัว (torus) เมล็ดมีขนาดใหญ่ภายในเมล็ด มีต้นอ่อน (embryo) ที่นิยมเรียกว่า ดีบัว ส่วนนี้มีรสขมเป็นส่วนประกอบเครื่องยาสมุนไพร