โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ผ้ามัดย้อมบัวปทุมยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชน ตำบลบึงสนั่น อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567 และวันที่ 20 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ กลุ่มรุ่งทิวาผ้ามัดย้อม ต.บึงสนั่น อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
ผศ.ดร.ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล และทีมวิทยากรจากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นผู้นำเสนอและถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชน กิจกรรมครั้งนี้มุ่งเน้นให้ความรู้ด้านเทคนิคการมัดย้อมและการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ การทำหมวกและกระเป๋าจากผ้ามัดย้อมลายบัวปทุม โดยผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้การทำลวดลายจากสีธรรมชาติ การตัดเย็บประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อส่งเสริมอาชีพและเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชน ผลการอบรมได้รับความพึงพอใจสูงสุดจากผู้เข้าร่วม โดยระบุว่าความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปต่อยอดประกอบอาชีพและเผยแพร่สู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผศ.ดร.ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล และทีมวิทยากรจากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นผู้นำเสนอและถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชน กิจกรรมครั้งนี้มุ่งเน้นให้ความรู้ด้านเทคนิคการมัดย้อมและการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ การทำหมวกและกระเป๋าจากผ้ามัดย้อมลายบัวปทุม โดยผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้การทำลวดลายจากสีธรรมชาติ การตัดเย็บประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อส่งเสริมอาชีพและเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชน ผลการอบรมได้รับความพึงพอใจสูงสุดจากผู้เข้าร่วม โดยระบุว่าความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปต่อยอดประกอบอาชีพและเผยแพร่สู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การยกระดับศักยภาพชุมชนด้วยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการ พัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐาน การต่อยอดอดีต โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทาง เศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติ ที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิง เปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่น ๆ น่ามา ประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจ และสังคมโลกสมัยใหม่ ผนวกร่วมกับการปรับปัจจุบัน เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้ง โครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการ พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต รวมทั้งการสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทรศาสตร์ ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อ ยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริม และสนับสนุนจากภาครัฐ ให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับภารยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลาง และลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศตั้งแต่ระดับชุมชนเป็นฐานราก(ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 คณะกรรมการพัฒนาการ เศระฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาระงานดังกล่าว ด้วยการขับเคลื่อน โครงการบริการ วิชาการแก่สังคม อมรมวิชาชีพผู้ประกอบการ เป็นภาระหน้าที่หลักอย่างหนึ่ง การศึกษาวิชาการด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคมและ ชุมชนอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นการให้ความรู้และเพิ่มทักษะให้กับผู้สนใจด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความรู้และทักษะของ สาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งสอดคล้องกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในกิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการศึกษาประเมินพันธุกรรมพืช และทรัพยากรชีวภาพอื่นๆ ที่สำรวจเก็บรวบรวมและปลูกรักษาไว้ โดยมีการศึกษาประเมินในสภาพธรรมชาติ แปลงทดลอง ในด้าน สัณฐานวิทยา ชีววิทยา สรีรวิทยา การปลูกเลี้ยง การเขตกรรม การวิเคราะห์บริบทพื้นที่ พื้นที่การบริการวิชาการมีที่ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านการ เคหะแห่งชาติ คลอง 10 ต.บึงสนั่น อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ซึ่งตำบลบึงสนั่นเป็นชุมชนพื้นที่เครือข่ายโดยรอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี สมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่รายได้น้อย และมีสมาชิกในชุมชนที่มีอาชีพทำผ้ามัดย้อมสีจากสีเคมี และมีการกระจายงานด้าน การย้อมสี และการตัดเย็บการขายด้วยสมาชิกในชุมชน ซึ่งเป็นศักยภาพเดิมที่ชุมชนสามารถทำได้ด้วยศักยภาพในชุมชน
การส่งเสริมให้ชุมชนควรย่อยอดองค์ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นสู่ความยั่งยืนด้วยนวัตกรรมจากพื้นฐานเดิมของชุมชน จา การเชื่อมโยงสายพันธุ์ของบัวปทุมธานีในการสร้างสรรค์สีจากบัวปทุมในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะของจังหวัด ปทุมธานี ด้วยหลักการองค์ความรู้ด้านการศึกษาเทรนด์สีใช้ในการออกแบบเพื่อชุมชน ศึกษาสมบัติ ลักษณะทางกายภาพด้านสีสรรค์ ของบัวปทุมธานีในแต่ละสายพันธุ์ โดยความร่วมมือจาก คณาจารย์นักวิจัย ของมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ศูนย์วิจัย และสถานีทดลองต่างๆ ที่ร่วมสนองพระราชดำริ ดังนั้นคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จึงได้จัดทำโครงการอบรมวิชาชีพด้านคหกรรม ศาสตร์ตามความต้องการและร้องขอของกลุ่มชุมชนในพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานี เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปพัฒนา สร้าง งาน เพิ่มรายได้ โดยการประกอบอาชีพที่สุจริต ประชาชนในชุมชนนั้นได้ใช้ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อสนองต่อโครง อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สร.) ด้วยการนำองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่ลงไปถ่ายทอดสู่ขุมขนจะช่วยนก้ปัญหาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนในท้องถิ่นให้มีความยั่งยืน และยกระดับ คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
วัตถุประสงค์
1. พัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อชุมชนเพื่อสนองต่อโครงอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
2. เพื่อนำงานบริการวิชาการบูรณาการกับงานวิจัยของคณะฯ
3. เพื่อนำงานบริการวิชาการบูรณาการกับการเรียนการสอนกับรายวิชาของคณะฯ
4. เพื่อสามารถสร้างเครือข่ายชุมชนต่อการสร้างอาชีพ
จำนวนผู้เข้าชม: 29