โครงการ การออกแบบตัดเย็บชุดทำงานสตรีจากเส้นใยใบย่านาง วิสาหกิจกลุ่มทอผ้าบ้านหนองโกวิทย์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
24/12/2023โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน
16/01/2024โครงการ การตกแต่งผืนผ้าเพื่อเพิ่มสมบัติทางกายภาพและเคมีในผืนผ้าจากใบย่านาง วิสาหกิจกลุ่มทอผ้าบ้านหนองโกวิทย์อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
(ภายใต้ชุดโครงการ เส้นใยจากใบย่านาง เพื่องานออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม วิสาหกิจกลุ่มทอผ้าบ้านหนองโกวิทย์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว) วันที่ 23-24 ธันวาคม 2566 โดยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ณ วิสาหกิจกลุ่มทอผ้าบ้านหนองโกวิทย์ เลขที่ 1 หมู่ที่ 7 ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)
2. เพื่อการตกแต่งผืนผ้าเพื่อเพิ่มสมบัติทางกายภาพ เทคนิคการตกแต่งผืนผ้า ด้านยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
3. เพื่อการตกแต่งผืนผ้าเพื่อเพิ่มสมบัติทางกายภาพ ด้านการสะท้อนน้ำ ก่อนซัก และหลังซัก
ชาวบ้านหนองโกวิทย์ ประชาชนส่วนใหญ่มีพื้นเพมาจากทางภาคอีสาน ซึ่งมีภูมิปัญญาทางด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าด้วยมือ เมื่อย้ายถิ่นฐานมารวมกันอยู่ที่บ้านหนองโกวิทย์ หมู่ที่ ๗ ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว จึงได้รวมกันปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าด้วยมือใช้เอง และได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้ลูกหลานสืบต่อ ๆ กันมากว่า ๓๐ ปีมาแล้ว
ผ้าทอมือหนองโกวิทย์ มีลวดลายที่สวยเด่นเฉพาะตัว ต่างจากผ้าที่อื่น คือ มีลวดลายที่โดดเด่น ลวดลายมีทั้งลายสก๊อตน้อยและลายสก๊อตใหญ่ สีไม่ตก เนื้อผ้ามีความแน่น ปัจจุบันทางกลุ่มพัฒนาจากกี่ทอผ้าธรรมดาเป็นทอด้วยกี่กระตุก ทำให้เนื้อผ้าแน่นมากยิ่งขึ้น และสามารถซักด้วยเครื่องซักผ้าได้ และเมื่อทอผ้าไว้ใช้เองแล้วเมื่อมีจำนวนมากขึ้น ได้จำหน่ายให้กับประชาชนในหมู่บ้านใกล้เคียง และเมื่อมีผู้ให้ความสนใจมากขึ้น ทำให้มียอดการสั่งซื้อจากทั้งหน่วยงานราชการ ท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก นอกจากผ้าขาวม้าทอมือแล้ว ทางกลุ่มทอผ้าหนองโกวิทย์ ได้พัฒนารูปแบบจากผ้าขาวม้าธรรมดา เป็นสินค้าอื่น ๆ อีกหลายอย่าง เช่น กระเป๋าจากผ้าขาวม้ารูปแบบต่าง ๆ และชุดเสื้อผ้าขาวม้าสำเร็จรูป ซึ่งมีรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และได้รับความนิยมเป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น
บรรพบุรุษในช่วงเริ่มก่อตั้งชุมชนเป็นหมู่บ้านเล็ก จากการย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดทางภาคอีสานของประเทศไทย เช่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสกลนคร เป็นต้น โดยเห็นว่าในสมัยนั้นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพทำมาหากิน มีแหล่งน้ำและผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีความเห็นตรงกันและชักชวนกันมาตั้งเป็นหมู่บ้าน ณ บริเวณแห่งนี้ ในช่วงแรกหมู่บ้านแห่งนี้ยังไม่มีการตั้งชื่อหมู่บ้านเพื่อใช้ในการเรียกขานชุมชนของตน จากคำบอกเล่าของ นางสุวรรณะ ประไพ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 สันนิษฐานว่า ชื่อของชุมชน “บ้านหนองโกวิทย์” ที่เรียกขานเป็นชื่อของชุมชนในปัจจุบัน เป็นชื่อมีที่มาจาก เมื่อในอดีตบริเวณพื้นที่ของชุมชนมีหนองน้ำธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่บริเวณท้ายหมู่บ้าน ปัจจุบันยังปรากฏอยู่ ในช่วงหน้าแล้งหนองน้ำแห่งนี้มีการแห้งขอดลง มีชายสูงอายุท่านหนึ่งที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ชื่อว่า ตาวิท มีอุปนิสัยชอบหาปลา โดยวิธีการวิดน้ำในหนองน้ำดังกล่าว จนเป็นภาพที่พบเห็นชินตาของคนหมู่บ้านเป็นประจำ จึงนิยมเรียกขานหมู่บ้านของตนตามชื่อชายดังกล่าวว่า “หนองโกวิท” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาก็มีการชักชวนบรรดาญาติมิตรสหายและคนรู้จักพื้นที่อื่นเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกัน เช่น จากพื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตะคาม จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดทางภาคอีสาน รวมถึงจากที่คนในหมู่บ้านเดินทางไปทำงานในพื้นที่จังหวัดอื่นและแต่งงานแล้วย้ายครอบครัวเข้ามาอยู่ ชุมชนจึงเกิดการขยายตัวมากขึ้น
ชุมชนบ้านหนองโกวิทย์เป็นกลุ่มทอผ้า ทำโมบายจากเศษผ้า ทำขนมจีน ทำไม้กวาดจากขวดพลาสติก การพัฒนาผลิตภัณฑ์รักษ์โลก มีภูมิปัญญาธนาคารข้าว ซึ่งได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตและภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การศึกษาและรักษาไว้
“บ้านหนองโกวิทย์” กลุ่มทอผ้าชุมชนอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้วยกี่กระตุกโบราณ ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยยึดการรวมกลุ่มที่เหนียวแน่น บริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างลงตัวของชาวบ้านในพื้นที่ ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว จนเกิดเป็นกลุ่มชุมชนมีแต่ความรัก ความสามัคคี และความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดรายได้ทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์ด้วยเอกลักษณ์การทอที่โดดเด่นเฉพาะตัว จนแตกต่างจากพื้นที่อื่นชัดเจน กระทั่งได้พัฒนาการผลิตเส้นใยผ้า โดยการนำเอาเส้นใยจากใบอ้อยมาเป็นส่วนผสมในการผลิตเส้นใย ก่อนนำมาถักทอ ซึ่งมีคุณสมบัติที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองคือ ผ้าจะมีความเย็นใส่สบาย บวกกับสีผ้าที่สกัดจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น 100% ไม่ใช้สีสังเคราะห์ จึงสร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
ชุมชนบ้านหนองโกวิทย์เป็นกลุ่มทอผ้า ทำโมบายจากเศษผ้า ทำขนมจีน ทำไม้กวาดจากขวดพลาสติก การพัฒนาผลิตภัณฑ์รักษ์โลก มีภูมิปัญญาธนาคารข้าว ซึ่งได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตและภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การศึกษาและรักษาไว้