
สรุปรายงานโครงการ
05/06/2017
โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มสมุนไพรกับการเพิ่มศักยภาพในการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ชุมชน หลักสูตรการใช้ประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพจากสมุนไพร
13/07/2017Infographic ต้นแบบโมเดลการบริการวิชาการสู่ชุมชน เพื่อการพัฒนาการปลูกป่าชายเลนและการเกษตรอินทรีย์ ร่วมกับนวัตกรรมหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและยุทธศาสตร์ประเทศไทย
ต้นแบบโมเดลการบริการวิชาการสู่ชุมชน กับนวัตกรรมหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน คืออะไร ?
คือ โมเดลส่งเสริมวิชาการ เกี่ยวกับนวัตกรรมหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโนแก่สังคม ถ่ายทอดความรู้แบบโมเดลการบริการวิชาการสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนตามแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวปฏิบัติ การแก้ไขปัญหาตามความต้องการของชุมชน สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ส่งเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัยตามพันธกิจ วิสัยทัศน์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
ต้นแบบโมเดลการบริการวิชาการสู่ชุมชนกับนวัตกรรม หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน ทำอย่างไร ?
ทำตามต้นแบบโมเดลการพัฒนาและจัดการชุมชนแบบยั่งยืน มี 8 ขั้นตอน
1. สำรวจชุมชนและรวบรวมข้อมูลวิจัย สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยแบบสอบถาม
2. ออกแบบโมเดลการพัฒนาและพัฒนาชุมชนด้วยนวัตกรรมชีวภาพและเทคโนโลยี กำหนดแผนงาน ความรับผิดชอบของเครือข่าย
3. เริ่มบริการวิชาการสู่ชุมชน ตามโมเดลที่วางไว้ และทำการตรวจ ติดตาม วิเคราะห์ผลร่วมกับเครือข่าย
4. ศึกษาวิจัยต่อยอดร่วมกับเครือข่ายฯ สนับสนุนทุนการดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาจากแหล่งทุนภายนอก
5. พัฒนากระบวนการผลิตและแปรรูปผลผลิต
6. พัฒนาและขยายพื้นที่การปลูกป่านาเกษตรอินทรีย์ร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน
7. ติดตามและวิเคราะห์การบริการสู่ชุมชน เพื่อกำหนดแผนงานให้ตรงกับความต้องการของชุมชนและเกิดผลสำเร็จ
8.วิจัยและพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี แบบยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0
ภาพรวม 8 ข้อ โมเดลการพัฒนาและจัดการชุมชนแบบยั่งยืน มี 8 ขั้นตอน
ต้นแบบโมเดลการบริการวิชาการสู่ชุมชน กับนวัตกรรมหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน มีประโยชน์อย่างไร ?
1. ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิต
2. เกษตรกร มีรายได้เพิ่ม จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
3. แปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า
4. ลดต้นทุน ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
5. เกิดความเข้มแข็งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมแบบยั่งยืน
6. ช่วยเร่งการย่อยสลายเศษซาก
7. ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคและเพิ่มภูมิคุ้มกันพืชและสัตว์
8. เพิ่มปริมาณธาตุอาหารหลักรองและเสริม
9. โลหะหนักมีจำนวนน้อยลง
10. สภาพดินและน้ำปกติ
11. ชุมชนได้ต้นแบบโมเดลพัฒนาการเกษตร
ออกแบบโดย: นายภธรเดช ปิติโชคเดชอุดม
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน (นักศึกษาช่วยงานโครงการ อพ.สธ. มทร.ธัญบุรี)
มอบหมายและควบคุมงานโดย น.ส.เบญสิร์ยา ปานปุญญเดช