
กิจกรรมที่ 3 การถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จากบัว
09/06/2023
กิจกรรมที่ 5 การถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร
16/06/2023ผู้รับผิดชอบโครงการ
กลุ่มบริการและเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้าวกล้องงอก
ข้าวกล้องงอก (Germinated brown rice) หรือ GABA – rice เป็นวิธีการที่พยายามทำให้เกิดการงอกจากเมล็ดข้าวกล้อง โดยการนำเมล็ดข้าวกล้องไปแช่น้ำทิ้งไว้จนเกิดการงอก โดยนำข้าวกล้องมาแช่น้ำ 5-10 ชั่วโมง จากนั้นนำมาห่อด้วยผ้าขาวบางอีก 10-24 ชม. หรือ 1 คืน ก็จะออกมาเป็นข้าวกล้องงอกแล้วหุง หรือทำน้ำข้าวกล้องงอกได้เลย โดยส่วนที่งอกขึ้นมานี้เขาเรียกว่า คัพภะ ซึ่งมีสาร GABA ซึ่งสารชนิดนี้มันคือ กรดแกมมา มิโนบิวริทิก (Aminobutyric acid, GABA) จัดอยู่ในกลุ่มโปรตีนที่ช่วยบำรุง เซลล์ประสาท ทั้งยังทำให้สมองเกิดการผ่อนคลายและนอนหลับสบาย ถ้าเป็นข้าวกล้องทั่วไปเมื่อนำมาทำให้มันเกิดการงอกก่อนที่จะรับประทานจะทำให้ได้สารอาหาร เช่น ใยอาหาร กรดโฟติก กรดเฟรูลิก วิตามินบี วิตามินอี และ GABA มากขึ้น โดยเฉพาะ GABA จะได้มากกว่าข้าวกล้องตาม ปกติถึง 15 เท่า สามารถป้องกันการทำลายสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสูญเสียความทรงจำ (อัลไซเมอร์) นอกจากนี้การนำเมล็ดข้าวกล้องไป แช่น้ำเพื่อให้เกิดการงอก ยังทำให้เมล็ดข้าวมีความอ่อนนุ่มมากขึ้น รับประทานได้ง่ายขึ้น ในการหุงจึงไม่จำเป็นต้องผสมข้าวชนิดอื่นลงไปด้วย ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทย
คุณค่าทางอาหาร ประโยชน์และสรรพคุณของข้าวกล้องเพาะงอก
- สารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟีโนลิค (phenolic compouds) ช่วยยับยั้งการเกิดฝ้า ชะลอความแก่
- สารออริซานอล (orizanal) ลดอาการผิดปกติของวัยทอง
- สารกาบา (GABA) ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสูญเสียความทรงจำ ช่วยผ่อนคลายทำจิตใจสงบหลับสบาย ลดความเครียดวิตกังวล ลดความดันโลหิต
- ใยอาหาร (food fiber) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้
- วิตามินอี (vitamin E) ลดการเหี่ยวย่นของผิว
![]() |
![]() |
ชบาเมเปิ้ล
ชบาเมเปิ้ล พรรณไม้ในวงศ์ Malvaceae เช่นเดียวกับชบา กระเจี๊ยบ และฝ้าย ไม้ประดับชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ต่อมากระจายพันธุ์ไปยังบราซิลและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเป็นอาหาร นิยมกินเป็นผักสดหรือนำมาประกอบอาหาร มีรสเปรี้ยว ชบาเมเปิ้ลสามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยการปักชำกิ่ง โดยสีแดงสดของใบและดอกยังอุดมด้วยสารสำคัญคือแอนโทไซยานิน ทั้งยังมีเพกตินจากเมือกเหนียวซึ่งช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ในต่างประเทศนิยมนำใบมากินเป็นผักสลัดหรือตกแต่งอาหารให้ดูน่ากินยิ่งขึ้น ดอกสดชงเป็นชา ให้สีแดงอมชมพู รวมถึงนำมาทำเป็นแยมกินกับขนมปังด้วย
![]() |
![]() |
ประโยชน์และสรรพคุณ
ใบอบแห้ง : ใบอบแห้งมีสารฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์การยับยั้งอนุมูลไฮดรอกซิลของสารสกัดชบาเมเปิ้ล สามารถนำไปเป็นเครื่องดื่นชาสมุนไพรได้
ใบสด : สามารถรับประทานสดเป็นผักหรือจะนำเอาไปปรุงอาหารก็ได้เช่นเดียวกัน
ดอกสด : ชงเป็นชา ให้รสชาติที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับกระเจี๊ยบแดงให้สีแดงอมชมพู และสามารถนำมาทำเป็นแยมกินกับขนมปังได้อีกด้วย
![]() |
![]() |
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์ : เพื่อตอบสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) / กิจกรรมการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก “วัตถุดิบท้องถิ่น” เพื่อสร้างองค์ความรู้พื้นฐานการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องงอก และชบาเมเปิ้ล เพื่อต่อยอดการสร้างรายได้ของเกษตรกรในพื้นที่และเกษตรกรเครือข่าย
ผลผลิตของกิจกรรมการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก “วัตถุดิบท้องถิ่น” ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ ในจังหวัดปทุมธานี และตัวชี้วัด
การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหวานจากข้าวกล้องงอก ได้แก่ เค้กคัสตาร์ดข้าวกล้องงอก น้ำสลัดข้าวกล้องงอก ขนมถ้วยฟูข้าวกล้องงอก ขนมข้าวตูข้าวกล้องงอก และการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหวานจากใบชบาเมเปิ้ล ได้แก่ วุ้นกรอบชบาเมเปิ้ล สำปันนีชบาเมเปิ้ล ขนมลืมกลืนชบาเมเปิ้ล
พืชที่นำมาใช้ประโยชน์ : ข้าวกล้องงอก / ชบาเมเปิ้ล
ลักษณะผลงาน : การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหวานจากข้าวกล้องงอก และใบชบาเมเปิ้ล
การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ (แนวทาง) : ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำองค์ความรู้พื้นฐานการการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหวานจากข้าวกล้องงอก และใบชบาเมเปิ้ล ไปสร้างรายได้เสริมสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหวาน
นวัตกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากดำเนินงานโครงการเสร็จสิ้น : การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหวานจากวัตถุดิบท้องถิ่น
พื้นที่/ชุมชนเป้าหมาย : ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาการเกษตรตลาดโรงเกลือท้ายเกาะ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และเกษตรกรเครือข่าย
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ เรื่อง โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จาก “วัตถุดิบท้องถิ่น” ดังนี้
- การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหวานจากข้าวกล้องงอก ได้แก่ เค้กคัสตาร์ดข้าวกล้องงอก น้ำสลัดข้าวกล้องงอก ขนมถ้วยฟูข้าวกล้องงอก ขนมข้าวตูข้าวกล้องงอก
- การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหวานจากใบชบาเมเปิ้ล ได้แก่ วุ้นกรอบชบาเมเปิ้ล สำปันนีชบาเมเปิ้ล ขนมลืมกลืนชบาเมเปิ้ล
การแปรรูปผลิตภัณฑ์เค้กคัสตาร์ดข้าวกล้องงอก
วิธีทำคัสตาร์ดเค้ก
ขั้นตอนที่ 1 ส่วนผสมคาราเมล
ขั้นตอนที่ 2 ส่วนผสมคัสตาร์ด
ขั้นตอนที่ 3 ส่วนเนื้อเค้ก (เนื้อสปันจ์)
การแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำ
การแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนมถ้วยฟูข้าวกล้องงอก
การแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนมข้าวตูข้าวกล้องงอก
การแปรรูปผลิตภัณฑ์วุ้นกรอบชบาเมเปิ้ล
การแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนมสำปันนีชบาเมเปิ้ล
การแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนมลืมกลืนชบาเมเปิ้ล
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ เรื่อง “วัตถุดิบท้องถิ่น” ที่ได้จากพืชท้องถิ่น ให้กลุ่มเกษตรกรชุมชน นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนที่สนใจ เพื่อตอบสนองการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีศักยภาพได้อย่างยั่งยืน เอื้อกับวิถีชีวิตมีความเหมาะสมกับบริบทของชุมชน อันจะเป็นการเสริมสร้างรายได้และความมั่นคงให้กับชุมชน การใช้ประโยชน์รวมการปฏิบัติและถ่ายทอดสู่พื้นที่ ภายใต้กรอบการพัฒนาชุมชนพึ่งตนเองตามแนวทางพระราชดำริ และหนุนเสริมการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์การพัฒนามหาวิทยาลัยฯ จากการถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จาก “วัตถุดิบท้องถิ่น” ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหวานจากข้าวกล้องงอก ได้แก่ เค้กคัสตาร์ดข้าวกล้องงอก น้ำสลัดข้าวกล้องงอก ขนมถ้วยฟูข้าวกล้องงอก ขนมข้าวตูข้าวกล้องงอก และการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารหวานจากใบชบาเมเปิ้ล ได้แก่ วุ้นกรอบชบาเมเปิ้ล สำปันนีชบาเมเปิ้ล ขนมลืมกลืนชบาเมเปิ้ล ให้กับกลุ่มศูนย์เรียนรู้และพัฒนาการเกษตรตลาดโรงเกลือท้ายเกาะ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และเกษตรกรเครือข่าย โดยทีมงานจากสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับทีมวิทยากรจากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ
เรื่อง “วัตถุดิบท้องถิ่น”
การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบพื้นถิ่นในจังหวัดปทุมธานี
(เค้กคัสตาร์ดข้าวกล้องงอก / น้ำสลัดข้าวกล้องงอก / ขนมข้าวกล้องฟู / ขนมข้าวตูข้าวกล้องงอก)
การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบพื้นถิ่นในจังหวัดปทุมธานี
(วุ้นกรอบชบาเมเปิ้ล / ขนมสัมปันนี / ขนมลืมกลืน)