
กิจกรรมที่ 1 การถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จากโปรตีนทางเลือก
09/05/2023
กิจกรรมที่ 3 การถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จากบัว
09/06/2023ผู้รับผิดชอบโครงการ
กลุ่มบริการและเผยแพร่งานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้าว
ข้าว เป็นเมล็ดของพืชหญ้า Oryza sativa ที่พบมากในทวีปเอเชีย ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งประชากรโลกบริโภคเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย ข้าวเป็นธัญพืชสำคัญที่สุดในด้านโภชนาการและการได้รับแคลอรีของมนุษย์ ข้าวสามารถแบ่งตามลักษณะเมล็ดเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้า และ ข้าวเหนียว ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันเกือบทุกอย่าง แต่ต่างกันตรงที่เนื้อแข็งในเมล็ด คุณค่าทางโภชนาการของข้าวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ โดยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ข้าวที่อยู่ระหว่างสีขาว, สีน้ำตาล, สีแดงและสีดำ (หรือสีม่วง)
การดำนาปลูกข้าว
การเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าวเหมาะกับประเทศและภูมิภาคที่มีฝนตกมาก ข้าวสามารถโตได้เกือบทุกที่ แม้บนเนินชันหรือเขตภูเขาที่ใช้ระบบควบคุมน้ำแบบขั้นบันได วิธีแบบดั้งเดิมสำหรับเตรียมดินสำหรับข้าวคือทำให้น้ำท่วมแปลงชั่วขณะหนึ่งหรือหลังจากการตั้งของต้นกล้าอายุน้อย วิธีเรียบง่ายนี้ต้องอาศัยแหล่งน้ำจากธรรฒชาติ โดยวิธีการปลูกข้าวมี 4 รูปแบบ ดังนี้
การปลูกข้าวนาดำ : การปลูกข้าวนาในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำขัง โดยใช้ต้นกล้าข้าวทำการปักดำลงไปในดินแปลงนา ซึ่งจะมีขั้นตอนของการปลูกข้าวแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะต้นกล้า และระยะปักดำ
การปลูกข้าวนาหว่าน : การปลูกข้าวในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำขัง โดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหว่านในพื้นที่แปลงนา ในการปลูกข้าวนาหว่านจะมีอยู่ 2 แบบ คือ การหว่านข้าวนาน้ำตมและการหว่านข้าวนาแห้ง
การปลูกข้าวไร่ : การปลูกข้าวในสภาพที่ไม่มีน้ำขัง และจะต้องใช้น้ำฝนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่สูง เชิงเขา ที่ดอนหรือบนดอยสูง
การปลูกข้าวแบบนาขั้นบันได : การปลูกข้าวในพื้นที่สูงหรือบนดอย โดยมีการปรับพื้นที่ตามไหล่เขาให้เป็นขั้นบันไดและมีคันนาที่ความกว้างเพียงพอที่จะสามารถขังน้ำได้
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์ : เพื่อตอบสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) / กิจกรรมการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก “ข้าว” เพื่อสร้างองค์ความรู้พื้นฐานการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวและการบำรุงรักษาพืชวัตถุดิบ เพื่อต่อยอดการสร้างรายได้ของเกษตรกรในพื้นที่และเกษตรกรเครือข่าย
ผลผลิตของกิจกรรมการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก “ข้าว” ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ ในจังหวัดปทุมธานี และตัวชี้วัด
การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการผลิตอาหารเสริมพืชอินทรีย์ที่ช่วงเร่งการเจริญเติบโตของพืช และป้องกันแมลงศัตรูพืช / การแปรรูปผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอีสานที่มีส่วนผสมของข้าวไรซ์เบอรี่
พืชที่นำมาใช้ประโยชน์ : ข้าวไรซ์เบอรี่ / ข้าวหอมมะลิ / ข้าวสายพันธุ์ต่างๆ
ลักษณะผลงาน : การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวไรซ์เบอรี่ / การบำรุงรักษาดินด้วยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพืชอินทรีย์
การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ (แนวทาง) : เกษตรกรในพื้นที่และเกษตรกรเครือข่ายสามารถผลิตอาหารเสริมพืชอินทรีย์ที่ช่วงเร่งการเจริญเติบโตของพืช และป้องกันแมลงศัตรูพืช เพื่อใช้เองได้ / กลุ่มแม่บ้าน ผู้สูงอายุ และผู้ที่ต้องการมีรายได้เสริมสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอีสานที่มีส่วนผสมของข้าวไรซ์เบอรี่
พื้นที่/ชุมชนเป้าหมาย : พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงบา ( อบต. บึงบา ) อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีและเกษตรกรเครือข่าย
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ เรื่อง โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จาก “ข้าวหอมมะลิไทย” ดังนี้
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการผลิตอาหารเสริมพืชอินทรีย์ที่ช่วงเร่งการเจริญเติบโตของพืช และป้องกันแมลงศัตรูพืช
- การแปรรูปผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอีสานที่มีส่วนผสมของข้าวไรซ์เบอรี่
การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการผลิตอาหารเสริมพืชอินทรีย์ที่ช่วงเร่งการเจริญเติบโตของพืช และป้องกันแมลงศัตรูพืช
สารสกัดธรรมชาติจากพืชที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 70-100% นอกจากนี้ยังทำให้พืชแข็งแรง ทนทานต่อแมลงศัตรูพืชและโรคพืชต่างๆ ทำให้ช่วยลดสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้เหมาะสมต่อการปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์นี้มีความปลอดภัยสูงต่อเกษตรกรผู้ใช้ ผู้บริโภคพืชผักผลไม้ และไม่มีสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อม
อาหารเสริมพืชอินทรีย์ธรรมชาติ โมเลกุลเล็ก สามารถพ่นให้อาหารพืชทางใบได้ ดูดซึมอาหารได้ทันที ช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์แสง ช่วยเร่งกระบวนการแบ่งเซลล์ การขยายตัวของเซลล์ การยืดเซลล์ได้การเตรียมอาหารเสริมพืชอินทรีย์ที่ช่วงเร่งการเจริญเติบโตของพืช และป้องกันแมลงศัตรูพืช
ขั้นตอนที่ 1 การขยายเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ / โพรไบโอติกธรรมชาติ ด้วยชีวเทคโนโลยี (Biotechnology) ภายในถังขยายเชื้อจุลินทรีย์แบบอัตโนมัติ
– เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ / โพรไบโอติกธรรมชาติ ต่อ น้ำตาลทรายแดงกากน้ำตาล (100 กรัม ต่อ 5 กิโลกรัม) ต่อน้ำ 5 ลิตร บ่มในที่ร่มนาน 3-8 ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 2 การผลิตอาหารเสริมพืช
– หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ขั้นตอนที่ 1) ผสมกับมูลวัว / ขี้แดดนาเกลือที่มัดใส่กระสอบปุ๋ย แล้วนำไปช่ในหัวเชื้อจุลินทรีย์ 21 วัน กรองวางไว้ในที่ร่ม นำส่วนที่ใสเก็บในขวดสีชา สำหรับนำไปฉีดพ่นพืช (อัตราส่วน20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)
ขั้นตอนที่ 3 เทคโนโลยีการเคลือบอาหารเสริม (สารจับใบ)
– เติมตัวจับอินทรีย์นาโน ผสมคลุกเคล้ากับอาหารเสริมฟูลิค โปรตีน อะมิโนคีเลต ฮอร์โมน เอนไซม์ สารไอโซฟลาโวน เกลือแร่ วิตามิน (10 ลิตร) ผสมให้เข้ากัน
ขันตอนที่ 4 วิธีการใช้สารอาหารเสริมสกัดเข้มข้น
– ตวงสารละลายอาหารเสริมสกัดเข้มข้น (อัตราส่วน20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) ผสมสารจับใบ คนให้เข้ากัน นำไปฉีดพ่นพืชในช่วงแตกกอ การออกรวง หรือนำไปผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยอินทรีย์ 100 กิโลกรัม (สำหรับนำไปหว่านใต้เรือนพุ่มพืช)
ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอีสานที่มีส่วนผสมของข้าวไรซ์เบอรี่
ไส้กรอกข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเพื่อสุขภาพทานเล่นได้ ที่ทำมาจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ กระเทียม พริกไทย เนื้อสัตว์ ซอสหอย เกลือ ไส้เทียม ซึ่งในข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีโอเมก้า 3 ที่ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ลดไขมันคอเลสเตอรอล และไตรกีเซอร์รายในหลอดเลือด กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้กับผิวให้ผิวเปล่งปลั่ง
คุณประโยชน์ของข้าวไรซ์เบอร์รี่ ประกอบไปด้วย โอเมก้า 3 ที่ช่วยในการทำงานของระบบประสาท สมองและตับ ป้องกันโรคเหน็บชา มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง และหัวใจ ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้กับผิว มีกากใยอาหาร ช่วยเรื่องระบบการขับถ่าย
ขั้นตอนการเตรียมผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอีสานที่มีส่วนผสมของข้าวไรซ์เบอรี่
- เตรียมเนื้อสัตว์ (หมู/ไก่) 75% และข้าวไรซ์เบอร์รี่หุงสุก 15% โดยนำมาผสมให้เข้ากัน
- เตรียมส่วนผสมของเครื่องปรุง (น้ำปลา ซอสปรุงรส พริกไทย อย่างละ 1% / กระเทียม 4% / เกลือ และ น้ำตาล อย่างละ 5%)
- นำส่วนผสมในข้อที่ 2 เติมลงในส่วนผสมข้อที่ 1
- เติมน้ำต้มสุก 2% ผสมให้เข้ากัน
- ทำความสะอาดไส้อ่อนหรือไส้เทียมที่เตรียมไว้
- นำส่วนผสมไส้กรอกอีสานที่มีส่วนผสมของข้าวไรซ์เบอรี่มากรอกบรรจุลงในไส้อ่อนแล้วผูกเป็นข้อให้มีขนาดเท่ากัน
- นำไส้กรอกอีสานที่มีส่วนผสมของข้าวไรซ์เบอรี่มาหมักในถุงซีลสูญญากาศเพื่อบ่มให้มีรสเปรี้ยว
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ เรื่อง “ข้าว” ที่ได้จากพืชท้องถิ่น ให้กลุ่มเกษตรกรชุมชน นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนที่สนใจ เพื่อตอบสนองการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีศักยภาพได้อย่างยั่งยืน เอื้อกับวิถีชีวิตมีความเหมาะสมกับบริบทของชุมชน อันจะเป็นการเสริมสร้างรายได้และความมั่นคงให้กับชุมชน การใช้ประโยชน์รวมการปฏิบัติและถ่ายทอดสู่พื้นที่ ภายใต้กรอบการพัฒนาชุมชนพึ่งตนเองตามแนวทางพระราชดำริ และหนุนเสริมการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์การพัฒนามหาวิทยาลัยฯ จากการถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จาก “ข้าว” ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการผลิตอาหารเสริมพืชอินทรีย์ที่ช่วงเร่งการเจริญเติบโตของพืช และป้องกันแมลงศัตรูพืช และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใส้กรอกอีสานที่มีส่วนผสมของข้าวไรซ์เบอรี่ ให้กับกลุ่มเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงบา ( อบต. บึงบา ) อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีและเกษตรกรเครือข่าย โดยทีมงานจากสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับทีมวิทยากรจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ภาพกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ
เรื่อง “ผลิตอาหารเสริมหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว และการผลิตสารชีวภาพสำหรับป้องกันแมลงศัตรูพืชและกำจัดโรคของพืช”
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงบา ( อบต. บึงบา ) อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีและเกษตรกรเครือข่าย
ภาพกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากพืชและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ
เรื่อง “การแปรรูปผลิตภัณฑ์ใส้กรอกอีสานที่มีส่วนผสมของข้าวไรซ์เบอรี่”